ประวัติความเป็นมาของสำนักงานตรวจสอบภายใน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจสอบภายใน จึงได้มีการแต่งตั้ง “คณะผู้ตรวจสอบภายใน” ในปีการศึกษา 2541 เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีการศึกษา 2542 ได้ตั้งหน่วยงาน “งานตรวจสอบภายใน” และให้รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ กตส.  ซึ่งได้มีการกำหนดให้มี กฎบัตรว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ ในปีการศึกษา 2547 ต่อมาในปีการศึกษา 2550 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานตรวจสอบภายใน” สอดคล้องกับมติของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเสนอแนะให้สภาสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทุกแห่งจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบประจำสถาบันอุดมศึกษาขึ้น และให้สำนักงานตรวจสอบภายในทำหน้าที่เลขานุการและปฏิบัติงานด้านธุรการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยกำหนดให้สภาสถาบันอุดมศึกษาควรจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นระบบ และให้รายงานผลการดำเนินงานต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำกับดูแลระบบการตรวจสอบภายใน  2)  ประเมินระดับความเสี่ยงในการบริหารและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา 3) สอบถามและวิเคราะห์งบการเงินของสถาบันอุดมศึกษา และได้กำหนดแนวทางการตรวจสอบการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาขึ้น โดยแบ่งเป็น การตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน การประเมินและบริหารความเสี่ยง และ การตรวจสอบการบริหารจัดการ

วิสัยทัศน์

สำนักงานตรวจสอบภายใน เป็นหน่วยงานสนับสนุนให้มีการบริหารงานของมหาวิทยาลัยที่โปร่งใส และส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานสอบทานการควบคุมภายในได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง (Control-self assessment) 

ปรัชญา

ตรวจสอบอย่างสร้างสรรค์ ยึดหลักแห่งความยุติธรรม
ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส เสริมสร้างการควบคุมภายในที่ดี

ปรัชญา ปณิธาน

เสริมสร้างระบบการควบคุมภายในที่ดี
บริหารตามหลักธรรมาภิบาล
บริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์ก

พันธกิจ

  1. ตรวจสอบแนะนำ ให้คำปรึกษา ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย
  2. พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานให้สามารถสอบทาน การควบคุมภายในด้วยตนเอง ตามหลักการ ควบคุมภายในและธรรมาภิบาล 

นโยบาย

  1. สำนักงานตรวจสอบภายในมีนโยบายและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Code of Ethics) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
  2. ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์เที่ยงธรรม ขยันขันแข็ง และด้วยความรับผิดชอบ  
  3. ต้องมีความจงรักภักดีในทุกกรณีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจขององค์กรหรือต่อผู้รับบริการนอกจากนี้ ต้องไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ผิดกฎหมายหรือกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม 
  4. ต้องไม่กระทำการใดๆซึ่งจะทำให้เสื่อมเสีย ชื่อเสียง ต่อวิชาชีพตรวจสอบภายใน หรือต่อองค์กร 
  5. ต้องไม่กระทำการใดๆให้เกิดข้อขัดแย้งในส่วนได้เสียขององค์กร หรือมีอคติในการปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบโดยขาดความเที่ยงธรรม 
  6. ต้องไม่รับสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวจากพนักงานผู้ซื้อ ลูกค้า ผู้จำหน่าย หรือจากผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับองค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพหรือทำให้การใช้ดุลยพินิจเบี่ยงเบนไป 
  7. ต้องให้บริการเฉพาะงานที่พิจารณาเห็นว่าจะสำเร็จได้ด้วยความสามารถแห่งวิชาชีพ
  8. ต้องรับรองวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน
  9. ต้องระมัดระวังรอบคอบในการใช้ข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจสอบต้องไม่นำข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรไปใช้เพื่อผลประโยชน์ของบุคคลใดๆ ในลักษณะที่ผิดกฎหมาย หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร 
  10. ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงที่สำคัญในรายงานการละเว้นไม่เปิดเผยจะต้องไม่ทำให้รายงานนั้นบิดเบือนหรือปิดบังการปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย 
  11. ต้องพยายามปรับปรุง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพของการให้บริการอย่างต่อเนื่อง 
  12. ต้องธำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐานเยี่ยงมืออาชีพมีคุณธรรม และมีศักดิ์ศรี

วัตถุประสงค์ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของงานตรวจสอบภายใน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสม
  2. เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  3. เพื่อให้ทุกหน่วยงานมีการบริหารความเสี่ยงทั่งทั้งองค์กร
  4. เพื่อให้ความมั่นใจในการบริหารจัดการ และปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาล
  5. เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี

ขอบเขต

  1. สอบทานและรายงานความเชื่อถือได้ และความครบถ้วนของข้อมูลทางการเงิน การปฏิบัติงาน ตลอดจนวิธีการวินิจฉัยและวัดผล
  2. สอบทานระบบงานที่มีผลกระทบสำคัญต่อการดำเนินงาน รายงานว่าได้มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับนโยบาย แผนงาน ระเบียบปฏิบัติที่วางไว้ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. สอบทานความเหมาะสมของการเก็บรักษาทรัพย์สิน และตรวจสอบว่าทรัพย์สินนั้นมีอยู่จริง
  4. ประเมินว่าการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า
  5. สอบทานการดำเนินงานหรือแผนงาน เพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่วางไว้ และมีการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนด

อำนาจ

  1. ผู้ตรวจสอบภายในมีสิทธิ์ที่จะขอเข้าทำการตรวจสอบทรัพย์สิน และกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรรวมทั้งหนังสือ บัญชี และเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี จดหมายโต้ตอบและรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. ผู้ตรวจสอบภายในมีอิสระในการตรวจสอบที่เห็นสมควรตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน
  3. ผู้ตรวจสอบภายในสามารถขอให้ผู้รับการตรวจสอบให้ข้อมูล และคำชี้แจงในเรื่องที่ทำการตรวจสอบได้

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. รับผิดชอบงานด้านการตรวจสอบภายในองค์กร
  2. วางแผนการตรวจสอบ และจัดให้มีการปฏิบัติตามแผน
  3. สอบทานความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการบัญชี และการเงิน
  4. ควบคุมดูแลการเก็บรักษา และการใช้ทรัพย์สิน
  5. ประเมินความเพียงพอ และความประสิทธิภาพในการควบคุมภายในของระบบต่างๆ
  6. รายงานผลการตรวจต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

การปฏิบัติงานตรวจสอบ

  1. ตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ ขององค์กรเป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาว่าได้มีการปฏิบัติงานตามแผนงานนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์กร ตลอดจนระเบียบปฏิบัติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. เมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นสมบูรณ์ หัวหน้างานตรวจสอบภายในต้องจัดให้มีการประชุมปิดงานตรวจสอบร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานที่รับการตรวจสอบ เพื่อชี้แจงหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการยอมรับเกี่ยวกับข้อบกพร่องที่ตรวจพบ และมาตรการแก้ไขปรับปรุง ก่อนที่จะนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบ  ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบภายใน และหน่วยงานที่รับการตรวจสอบมีความเห็นต่างกันให้บันทึกความเห็นทั้งสองฝ่าย
  1. ต้องจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษร อธิบายถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตของการตรวจสอบ ข้อบกพร่องที่ตรวจสอบ และข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปรับปรุงในรูปแบบตามเอกสารแนบ
  2. หัวหน้าตรวจสอบภายในต้องพัฒนาผู้ตรวจสอบภายในให้มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์เพียงพอในการที่จะดำเนินการตรวจสอบเรื่องต่างๆ
  3. ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวเป็นกลาง รู้จักกาลเทศะ มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน