บริการอย่างไรให้ประทับใจนักศึกษา และนักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ ฉบับ E-Book จัดทำโดย คณะกรรมการด้านจัดการความรู้ (KM) ฝ่ายกิจการนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 |
![]() |
||
จากคณะกรรมการด้านการจัดการความรู้ (KM) ฝ่ายกิจการนักศึกษา ได้จัดอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง"บริการอย่างไรให้ประทับใจนักศึกษาและนักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ โดยเน้น โรคซึม, ออทิสติก, สมาชิกสั้น, หวาดระแวงและก้าวร้าว เป็นการอบรมเน้นการ สังเกตและเข้าใจ เพื่อให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพครับ โครงการนี้ จัดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา อันนี้เป็นลิ้ง VDO สำหรับดูย้อนหลังครับ ขอบคุณครับ |
![]() |
||
ของฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยคณะกรรมการจัดการความรู้ ฝ่ายกิจการนักศึกษา ประจาปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นผลิตนักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้นักศึกษา รวมทั้งคณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีคุณธรรมและจริยธรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นเวลานาน นอกจากกิจกรรมทางด้านศาสนาแล้ว พิธีการเกี่ยวกับการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในมหาวิทยาลัย เช่น การไหว้ศาลพระภูมิชัยมงคล ศาลพระพรหม ศาลแม่ไทร ฝ่ายกิจการนักศึกษาได้รับมอบหมาย และรับผิดชอบในการดาเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยเมื่อครั้งยังเป็นวิทยาลัยการค้า ณ ถนนราชบพิธ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2506 ต่อมาในปี 2517 มหาวิทยาลัยย้ายมาตั้ง ณ ถนนวิภาวดีรังสิต จึงได้นากิ่งจากต้นไทรเดิมมาปลูกพร้อมทั้งอัญเชิญแก่นไทรมาบูชาเป็นมิ่งขวัญ ณ ศาลแม่ไทรสืบจนทุกวัน คู่มือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสาหรับการจัดพิธีกรรมการศาสนา และพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพิธีกรรมอันดีงามที่ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมา คณะกรรมการจัดการความรู้ ฝ่ายกิจการนักศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มนี้จะช่วยสร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติที่ถูกต้องของการจัดพิธีกรรมการศาสนา พิธีสักการะ เพื่อยังความเลื่อมใส ศรัทธาธารงไว้ซึ่งพิธีกรรมอันดีงาม ให้เกิดความเป็นศิริมงคลขึ้นแก่ผู้ที่เข้าร่วมในพิธี สืบไปตราบนานเท่านาน คณะกรรมการจัดการความรู้ ฝ่ายกิจการนักศึกษา |
![]() |
||||||||||
1. ผู้เข้าร่วมการจัดทำองค์ความรู้ ประกอบด้วยบุคลากรฝ่ายกิจการนักศึกษาที่มีความสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนักศึกษาประเภทงาน Event กรณีศึกษางานลอยกระทง
|
||||||||||
2. กระบวนการจัดการความรู้ คณะกรรมการการจัดการความรู้ ฝ่ายกิจการนักศึกษาได้จัดกิจกรรมรวบรวมองค์ความรู้เรื่อง “การจัดกิจกรรมนักศึกษาประเภทงาน Event” โดยนำความคิดเรื่องการจัดงานลอยกระทงมาเป็นโจทย์ “รวมความรู้สู่งานสร้างสรรค์วันลอยกระทง” ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 และวันที่ 25 มีนาคม 2563 ใช้เทคนิคการสกัดและรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นความรู้ฝังลึกด้วยการเล่าเรื่อง (Story Telling) และการระดมความคิด (Brain Storming) ภายใต้บรรยากาศเป็นกันเอง ณ ห้อง IDE มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
||||||||||
3. สรุปองค์ความรู้ที่ได้ สิ่งที่จะทำให้งาน Event หนึ่งๆ ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีงบประมาณเหมาะสม มีวันเวลาและสถานที่ที่สะดวกกับกลุ่มเป้าหมาย มีรูปแบบ ธีมงาน หรือการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ และมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งสำหรับการจัดงานลอยกระทง สามารถขยายรายละเอียดของแต่ละประเด็นได้ดังนี้ 3.1 เป้าหมายของการจัดงาน คือสร้างสีสันให้มหาวิทยาลัยมีชีวิตชีวา เน้นสร้างความสุขให้กับนักศึกษาเป็นกลุ่มหลัก ตามมาด้วยกลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัย และชาวชุมชนใกล้เคียง เป้าหมายท้ายสุดคือเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยในอีกทางหนึ่งด้วย 3.2 วันเวลาและสถานที่ คือ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 (อาจจัดมากกว่า 1 วัน) บริเวณหน้าอาคาร 24 สวนร่มไทร และบริเวณรอบๆ 3.3 รูปแบบงาน เป็นงาน Event ที่ถูกใจนักศึกษา เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่เราต้องการสร้างความสุขให้ ซึ่งขณะเดียวกันพวกเขาก็คือสีสันของงานด้วย อย่างไรก็ตาม ก็ควรมีสิ่งที่ถูกใจคนรุ่นใหญ่และชาวชุมชน ดังนั้นรูปแบบงานจะเป็นการผสมผสาน เหมาะกับผู้ร่วมงานทุกเพศทุกวัย เข้าถึงง่าย พบข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้ - มีประเพณีและศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นฉากหลังของงาน แต่ไม่เน้นตามขนบเดิมเสียทีเดียว - นำความแปลกใหม่และความมีชีวิตชีวาของกิจกรรมหลากหลายมาเป็นภาพชูโรงที่โดดเด่น น่าสนใจ และเป็นที่พูดถึง เช่น วิธีลอยกระทงที่สร้างสรรค์ให้แตกต่าง กระทงนวัตกรรม การละเล่น มหรสพ ของซื้อของขายจิปาถะ ซุ้มอาหารละลานตานานาชนิด - บรรยากาศงานสบายๆ วุ่นวายแบบชิลๆ สนุกและมีความสุขแบบง่ายๆ ไม่จัดฉากพิธีการ - ทีมทำงานเน้นเป็น “อาสาสมัคร” ทั้งนักศึกษาและบุคลากร โดยการกำหนดรูปแบบและสิ่งที่จะมีในงานจริง ควรมาความคิดเห็นของนักศึกษา ซึ่งจะสำรวจผ่านเพจ “ลอยกระทง UTCC” ที่จะเริ่มเผยแพร่หลังสงกรานต์นี้ หลังจากนั้นจึงนำมาประมวลกับความคิดเห็นของบุคลากร นโยบายของผู้บริหาร และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น การลดขยะ 3.4 การประชาสัมพันธ์ ควรใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก เพราะเข้าถึงนักศึกษาง่าย ใช้งบประมาณน้อย รวดเร็วในการเผยแพร่และกระจายในวงกว้าง ทีมงานอาสาสมัคร สามารถเข้ามาเรียนรู้และฝึกฝนการจัดทำสื่อด้วยเทคนิคต่างๆ ได้ เนื่องจากฝ่ายกิจการนักศึกษามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้ 3.5 งบประมาณ ควรมีความเหมาะสม นำเสนอผู้บริหารให้เห็นความคุ้มค่าได้ ในเบื้องต้นประเมินไว้ที่ 100,000 – 300,000 บาท ซึ่งส่วนหนึ่งควรหาผู้สนับสนุนภายนอก 3.6 ขั้นตอนการทำงาน แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ เตรียมการจัดงาน วันงาน และสรุปงาน รายละเอียด ดังนี้ 3.6.1 เตรียมการจัดงาน รวบรวมไอเดียและรวบรวมทีมงาน โดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนในฝ่ายกิจการนักศึกษา การสำรวจความคิดเห็นนักศึกษา บุคลากร และชุมชน ผ่านเพจ “ลอยกระทง UTCC” อยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2563 ซึ่งบุคลากรฝ่ายกิจการนักศึกษาที่มีองค์ความรู้และความสนใจร่วมงานในส่วนต่างๆ มีดังนี้ - จัดทำเพจ “ลอยกระทง UTCC” และทำสื่อประชาสัมพันธ์ - ช่วยรวบรวมข้อมูลความต้องการของนักศึกษา - ออกแบบกิจกรรมลอยกระทงที่แปลกใหม่โดยไม่ทิ้งความเป็นประเพณีไทย - จัดการซุ้มขายของ ทั้งของกิน ของใช้ ของเล่น ให้หลากหลายและน่าสนใจ - สร้างความสนุกของกิจกรรมกีฬาไทย บ้านผีสิง (ถ้ามี) การละเล่น และมหรสพ - อาสาสมัครรักษ์โลก ดูแลการจัดการขยะภายในงาน - ประชาสัมพันธ์ตรงไปยังนักศึกษาโครงการตำรวจ - ร่วมสนุกและช่วยเติมเต็มในทุกส่วนที่ขาดหาย ขออนุมัติโครงการผ่านระบบของมหาวิทยาลัย โดยเสนอเป็น งปม.01 ในช่วงเดือนเมษายน 2563 เมื่อผ่านการกลั่นกรองงบประมาณผ่านแล้ว จึงขออนุมัติดำเนินการจริง ประมาณเดือนสิงหาคม 2563 ประสานงานและจัดการ การประชาสัมพันธ์ สถานที่ ผู้คนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.6.2 วันจัดงาน ดำเนินการตาม Sequence อย่างสนุกและมีความสุข 3.6.3 สรุปการจัดงาน ควรมีการประเมินความคิดเห็นของผู้มาร่วมงาน และประชุมสรุปทีมงาน เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการทำงานครั้งต่อไป 3.7 ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากวันลอยกระทงปีนี้ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันฮาโลวีนด้วย จึงน่าสนใจหากจะนำธีมฮาโลวีนมาเป็นส่วนหนึ่งของการคิดงาน และกองกิจกรรมนักศึกษาคาดว่าจะจัดโครงการวิ่งมาราธอน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 จึงจะกำหนดให้ผู้สมัครวิ่งมารับเสื้อที่มหาวิทยาลัยในวันที่จัดงานลอยกระทง เป็นการเพิ่มผู้เข้าร่วมงาน เพิ่มสีสัน และภาพงานลอยกระทงได้ถูกนำไปบอกต่อ สร้างกระแสให้คนอยากมีร่วมงานมากขึ้น |
||||||||||
4. ภาพประกอบ
|
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประจำปีการศึกษา 2559 ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลนักศึกษาในด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้แก่นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มีหน่วยงานในสังกัด 5 หน่วยงาน คือ กองกิจกรรมนักศึกษา กองสวัสดิการนักศึกษา กองการกีฬา กองส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม และกองแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์ นอกจากนี้ฝ่ายกิจการนักศึกษายังกำกับดูแลสโมสรนักศึกษาและตัวแทนของนักศึกษาแต่ละคณะวิชา เพื่อให้เข้ามาร่วมในการบริหารจัดการด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้แก่นักศึกษา การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้แก่นักศึกษาทุกชั้นปีนั้น ฝ่ายกิจการนักศึกษาจะมุ่งเน้นให้สอดคล้องกับปรัชญา / ปณิธานและวิสัยทัศน์ของฝ่ายฯ คือ มุ่งสร้างและพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิต ที่มีอัตลักษณ์ตรงตามความต้องการของมหาวิทยาลัย สังคม ดังนั้นกิจกรรมเสริมหลักสูตรจึงเป็นการมุ่งเน้นพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักธุรกิจที่มีคุณธรรม และเป็น Best Practice รวมทั้งยังให้การสนับสนุนคณะวิชาในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและประสบการณ์ แก่นักศึกษาให้เป็นคนเก่ง คนดี มีคุณธรรมจริยธรรมอีกด้านหนึ่งด้วย
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดจัดกิจกรรมและปรับปรุงบริการให้นักศึกษามีความสุขกาย สุขใจ มีสวัสดิการที่ดี 3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติรวมทั้งเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากล 4. สนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายทั้งภายใน ภายนอกมหาวิทยาลัยและศิษย์เก่า 5. สร้างระบบการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 6. สร้างระบบพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย 7. สร้างระบบการบริหารจัดการสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 8. ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรในสังกัดฝ่ายกิจการนักศึกษา ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมให้บรรลุตามพันธกิจนั้นหน่วยงานภายใต้สังกัดฝ่ายได้ร่วมมือกันในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และนโยบายของฝ่ายกิจการนักศึกษา ซึ่งหน่วยงานทั้ง 5 หน่วยงานต่างมีภาระหน้าที่และความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ดังมีรายละเอียดดังนี้ 1. กองกิจกรรมนักศึกษา ที่ทำการ อาคาร 6 ชั้น 2 มีหน้าที่ คือ 1.1 ให้คำปรึกษาในการบริหารจัดการชมรมกิจกรรม และกำกับดูแลการจัดกิจกรรมของชมรมกิจกรรม 1.2 จัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้มีภาวะผู้นำ มีบุคลิกภาพที่ดี และอัตลักษณ์อื่นๆ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย 1.3 บริหารจัดการระบบบันทึกกิจกรรมนักศึกษา ทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะวิชา 1.4 ดูแลงานวินัยของนักศึกษา เกี่ยวกับเรื่อง - การควบคุมนักศึกษากรณีการทะเลาะวิวาทกันเอง (ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน) - การควบคุมการแต่งกายของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย - การจัดซุ้มโซนพื้นที่ให้แก่นักศึกษา - ควบคุมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาให้อยู่ภายในที่พักสูบบุหรี่ที่มหาวิทยาลัยจัดพื้นที่ให้ - เฝ้าระวังและติดตามแก้ไขปัญหายาเสพติดที่อาจมีภายในมหาวิทยาลัย 1.5 บริการเก็บทรัพย์สินและส่งคืนทรัพย์สินสูญหาย 2. กองสวัสดิการนักศึกษา ที่ทำการอาคาร 6 ชั้น 2 มีหน้าที่ คือ 2.1 ดูแลและให้บริการเรื่องทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยทุกประเภททั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก 2.2 ดูแลและให้บริการด้านการกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา (กยศ.และ กรอ.) 2.3 ดูแลเรื่องงานรักษาพยาบาล (ห้องพยาบาล) และจัดบริการด้านสุขภาพตามนโยบายของมหาวิทยาลัย 2.4 ดูแลประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และวิทยาลัยนานาชาติ 2.5 ให้บริการเรื่องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร 2.6 ดูแลเรื่องนักศึกษาวิชาทหารรักษาดินแดน (รด.) 3. กองการกีฬา ที่ทำการ อาคาร 9 ชั้น 8 มีหน้าที่ คือ 3.1 คัดเลือกนักศึกษาที่ขอรับทุนกีฬาทุกประเภท 3.2 จัดนักกีฬาเพื่อแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยรอบคัดเลือกและรอบมหกรรม รวมทั้งการแข่งขันประเภทอื่นที่เห็นสมควรเข้าร่วมแข่งขัน 3.3 ดูแลและให้บริการห้องออกกำลังกายของนักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัย 3.4 ให้บริการยืมอุปกรณ์กีฬา อาทิ ลูกฟุตบอล ลูกวอลเล่ย์บอล เป็นต้น 3.5 ดูแลและให้บริการนักศึกษาเล่นกีฬา ที่ลานเด็กหอ 4. กองส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ที่ทำการ ห้อง 3405 อาคาร 3 ชั้น 4 มีหน้าที่ คือ 4.1 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้แก่มหาวิทยาลัย 4.2 คัดเลือกนักศึกษาที่ขอรับทุนดนตรีไทยและนาฏศิลป์ 4.3 จัดอบรมและให้ความรู้ด้านนาฎศิลป์และดนตรีไทยแก่นักศึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติ 4.4 จัดการแสดงตามที่มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร้องขอ 5. กองแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ที่ทำการ ห้อง 7605 อาคาร 7 ชั้น 6 มีหน้าที่ คือ 5.1 ดูแลและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยา 5.2 ให้บริการการทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา 5.3 ให้คำแนะนำและบริการการเลิกสูบบุหรี่ 5.4 จัดหางานและฝึกงานให้แก่นักศึกษาตามที่นักศึกษาร้องขอ 5.5 ส่งข่าวสารและติดต่อกับศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย 5.6 จัดอบรมเรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพให้แก่นักศึกษาก่อนเข้าสู่อาชีพ 5.7 จัดตลาดนัดอาชีพให้แก่นักศึกษา โดยร่วมมือกับบริษัทในการเปิดรับสมัครพนักงาน ซึ่งทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการสมัครงานกับบริษัทที่มีชื่อเสียง มีความมั่นคง และเชื่อถือได้
กิจกรรมมหาวิทยาลัย (บังคับ) จำนวน 30 ชั่วโมง คือ กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเข้าร่วม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม 2. ค่ายคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 3 ชั่วโมง 3. เลือกตั้งผู้นำนักศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง กิจกรรมคณะ จำนวน 30 ชั่วโมง คือ กิจกรรมที่นักศึกษาทุกคนต้องเข้าร่วมตามข้อกำหนดของคณะ
|