เอกสารอ้างอิง (ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาฉบับที่ยกเลิกไปแล้ว)

ที่มา : กองส่งเสริมและพัฒนาทุนทางปัญญา สป.อว. , พ.ศ. 2566
  1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  2. การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผ่านสำนักหอสมุดกลาง มกค.
  3. การประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ที่จัดโดยสมาคมวิชาการ/วิชาชีพ
  4. วารสารวิชาการระดับชาติ 
    1. วารสารที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
    2. ต้องมีการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี 
    3. มีการตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (peer reviewer) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 คน 
    4. อาจเผยแพร่เป็นรูปสิ่งพิมพ์ หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน
  5. วารสารวิชาการระดับนานาชาติ
    1. ต้องเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด ได้แก่ ERIC, MathsciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse ทั้งนี้ วารสารวิชาการนั้น
    2. อาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์ หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  6. ตำราหรือหนังสือที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer review) ที่มาจากหลากหลายสถาบัน
    1. การเผยแพร่ด้วยวิธีการตีพิมพ์ หรือ
    2. การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอกส์อื่น ๆ เช่น e-Learning, Online Learning
    3. การเผยแพร่ดังกล่าวจะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีหนึ่งที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ แต่อาจใช้ดัชนีอื่นวัดความกว้างขวางในการเผยแพร่ได้เช่นกัน
    4. ขั้นตอนก่อนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ-คณะวิชา
  1. คณะพิจารณาประวัติส่วนตัวและผลงานทางวิชาการ ส่งสำนักวิชาการ (อาคาร 10 ชั้น 5)
  2. สำนักวิชาการ ตรวจสอบประวัติส่วนตัวและผลงานทางวิชาการให้เป็นไปตามระเบียบ กกอ. และนำเสนอรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และสั่งการให้นำเสนอ กพว. ในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ในฐานะเลขานุการนำประวัติส่วนตัว ผลงานทางวิชาการ และรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ พิจารณาเพื่ออนุมัติ/ไม่อนุมัติให้ขอตำแหน่งทางวิชาการ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลการสอน และคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
  4. คณะอนุกรรมการประเมินผลการสอน ดำเนินการประเมินผลการสอน
  5. สำนักวิชาการทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งผลงานทางวิชาการให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตอบรับ
  6. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการ
  7. จัดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิครบจำนวนแล้ว
  8. คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ พิจารณาการสรุปผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ
  9. สภามหาวิทยาลัย ให้ความเห็นชอบ
  10. แจ้งผลต่อผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
  11. กกอ. ตรวจสอบให้การพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วย มาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
  12. สวก.-สบม. บันทึกข้อมูลลงในทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการแห่งชาติ